ขอมูลหายมาดูวิธีการกู้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์กัน



วิธีการกู้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์

พื้นฐานโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์นั้นก็ไม่ได้มีอะไรมากนัก เพราะเป็นส่วนของจานเหล็กที่เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ทำให้มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กที่อยู่บนพื้นผิวจานได้ และนั่นก็คือที่มาของการบันทึกข้อมูล โดยการเปลี่ยนแปลงสนามเหล็กให้การเป็นรูปแบบข้อมูลดิจิตอล (0 หรือ1, เปิด หรือ ปิด) โดยหน้าที่นี้เป็นของหัวอ่าน-เขียน ซึ่งจะลอยอยู่เหนือแผ่นจานแม่เหล็กเพียงแค่นิดเดียวเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลที่เรียงกันอยู่บนจานแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์จึงมีปริมาณมาก มายมหาศาล



จะเอาอะไรมากู้ข้อมูล
เวลาที่เราลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไปแล้ว ข้อมูลต่างๆ ก็ควรจะต้องหายไป แล้วคุณเคยสงสัยไหมครับ ว่าในเมื่อข้อมูลต่างๆ มันหายไปแล้ว แล้วมันถูกกู้คืนกลับมาได้อย่างไร ความจริงแล้วคอมพิวเตอร์นั้นแอบขี้โกงเราอยู่เหมือนกันครับ เนื่องจากสื่อบันทึกข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์เองก็จะทำงานหรือเก็บบันทึกข้อมูล ด้วยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กบนจานเพื่อบันทึกค่า ซึ่งก็ต้องใช้เวลาในการเขียน-อ่านอยู่พอสมควร ดังนั้นเพื่อความรวดเร็วในการลบข้อมูล ข้อมูลต่างๆ จึงไม่ได้ถูกลบไปจริงๆ แต่จะถูกมาร์กเอาไว้ในระบบไฟล์ว่าข้อมูลในส่วนนั้นๆ ถูกลบไปแล้ว ทั้งที่จริงแล้วข้อมูลก็ยังคงอยู่ที่เดิมของมันอยู่ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเวลาเราสร้างไฟล์ 1 กิกะไบต์ จึงช้ามาก ในขณะที่ลบไฟ 1 กิกะไบต์ นั้นเร็วจนแทบมองไม่ทันกันเลยทีเดียว

ดังนั้นแล้วข้อมูลต่างๆ ของเราก็อาจจะยังคงอยู่ในฮาร์ดดิสก์ที่เราใช้ นั่นหมายความว่าเรายังพอมีสิทธิที่จะแก้ไขสิ่งที่ทำผิดพลาดไว้ให้กลับคืนมา ดังเดิมได้อยู่ และนี่คือวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้คุณได้ข้อมูลสำคัญๆ คืนมา



1. การกู้ไฟล์ที่เราได้ทำการลบไป


บางครั้งเราก็อาจจะเผลอลบไฟล์งานเอกสารสำคัญๆ ของเราไปด้วย เมื่อสั่งลบไปแล้ว มันก็จะไปอยู่ในถังขยะหรือว่าเจ้า Recycle Bin แทน จริงอยู่ครับว่าไฟล์ที่ถูกลบไป มันจะถูกย้ายไปไว้ในถังขยะ แต่สำหรับคนที่ต้องการทำงานแบบรวดเร็วจนติดเป็นนิสัย ก็เลยลบข้อมูลอย่างรวดเร็ว (Shift+Del) งานนี้ข้อมูลของคุณไม่ได้อยู่ในขยะแน่นอนครับ นอกจากนี้กรณีที่คุณเผลอลบไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ถังขยะจะสามารถรับ ได้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ไฟล์ของคุณจะได้รับสิทธิในการลบข้อมูลไปเลยโดย ไม่ต้องผ่านถังขยะด้วยเช่นกัน

ขนาดถังของ Recycle Bin ที่คุณกำหนดไว้อาจจะไม่ใหญ่เพียงพอ ทำให้ไฟล์ถูกลบไปเลยก็ได้

วิธีการกู้ที่ง่ายที่สุดก็ต้องเป็นโปรแกรมประเภท Undeleted ทั้งหลายที่พอจะช่วยคุณได้ แต่ข้อจำกัดของโปรแกรมประเภทนี้ก็คือคุณจะต้องติดตั้งโปรแกรมก่อนที่คุณจะลบ ไฟล์นะครับ

หลักการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้อยู่ที่การคอยสอดส่องว่าคุณมีการทำงานกับ ไฟล์อะไรบ้าง มีการลบไฟล์อะไรไปบ้าง แล้วมันจึงแอบเก็บข้อมูลของไฟล์ที่คุณลบเอาไว้เอง จะว่าไปมันก็เหมือนกับเป็นการทำหน้าที่ Recycle Bin อย่างลับๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งคราวนี้เราก็จะสามารถกู้คืนไฟล์ที่เราเพิ่งลบไปให้กับมาอยู่ในอ้อมอกของ เราได้เหมือนเดิมครับ


ข้อจำกัดของรูปแบบการกู้คืนข้อมูลแบบนี้ก็คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับการ Undeleted นี้จะต้องติดตั้งโปรแกรมลงไปก่อน เพื่อที่จะจะได้ให้มันคอยตรวจสอบไฟล์ที่เราเพิ่งสั่งลบไป และคอยเก็บข้อมูลสำรองเอาไว้ให้ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อทำเช่นนี้แล้ว คุณก็จะต้องยอมเสียพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ไปบางส่วนเพื่อแลกกับความปลอดภัยของ ไฟล์ บางโปรแกรมกินพื้นที่เยอะ เพราะใช้วิธีการแบ็กอัพไฟล์เอาไว้เลย หรือบางโปรแกรมอาจจะใช้วิธีการเก็บ Log การลบไฟล์เอาไว้ แล้วสั่งถอดมาร์กที่ระบบปฏิบัติการได้ทำไว้เพื่อให้รู้ว่าเป็นไฟล์ที่ถูกลบ ออกไปก็จะกินพื้นที่น้อยกว่า



2. การกู้ข้อมูลที่เกิดจากการฟอร์แมตไดรฟ์ไป (ข้อมูลอาจกลับมาไม่ครบลองอ่านดูนะครับ)


คงจะมีบ้างที่เรา ๆ ท่าน ๆ อาจเกิดฟอร์แมตผิดไดรฟ์ในขั้นตอนการติดตั้งวินโดวส์ หรือถ้าจะให้ดูใกล้ตัวกว่านั้นอาจจะเป็นกรณีที่ว่าคุณต้องการฟอร์ แมตลงวินโดวส์ใหม่อยู่แล้ว หลังจากสั่งฟอร์แมตและเตรียมตัวจะลงระบบปฏิบัติใหม่นั้นนึกขึ้นมาได้ว่ายัง มีไฟล์งานสำคัญที่ยังไม่ได้แบ็คอัปอยู่ ฟอร์แมตก็ทำไปแล้วจะทำยังไง แถมโปรแกรม Undeleted ก็ช่วยไม่ได้อีกต่างหาก

ส่วนนี้ต้องใช้โปรแกรมเข้าช่วยเช่นโปรแกรม GetDataBack แล้วพวกโปรแกรมมันกู้ได้ก็เนื่อง จากข้อมูลต่างๆ ที่เราสั่งลบไปนั้นไม่ได้มีการถูกลบไปจริงๆ เพียงแต่จะเป็นการมาร์กเอาไว้ว่าข้อมูลนั้นๆ ถูกลบไปแล้ว การฟอร์แมตก็คล้ายๆ กัน โดยเฉพาะการฟอร์แมตแบบรวดเร็ว (Quick Format) ด้วยแล้ว มันก็เหมือนกับการลบไฟล์ทุกไฟล์ออกไปจากไดรฟ์นั้นเองครับ โปรแกรมพวกนี้มีหลายยี่ห้อก็เลือกใช้กันได้เลยครับ

ซึ่งทำให้มันสามารถมองเห็นข้อมูลที่ระบบปฏิบัติการมองไม่เห็นหรือก็คือ ข้อมูลที่ถูกลบไปแล้วนั่นเองครับ ข้อจำกัดของโปรแกรมประเภทนี้ก็มีอยู่เหมือนกันครับ เพราะใช่ว่ามันจะสามารถกู้ได้ทุกอย่างอย่างแรกเลยก็คือ มันไม่สามารถกู้ข้อมูลที่ถูกเขียนทับไปแล้วได้ เนื่องจากมันอาศัยการกู้จากเศษข้อมูลที่หลงเหลืออยู่ในดิสก์


อีกกรณีหนึ่งที่ไม่สามารถกู้คืนได้ก็คือกรณีของการ Low Level Format ซึ่งถือว่าเป็นการฟอร์แมตที่ล้างข้อมูลได้อย่างสะอาดที่สุด เพราะจะมีการจัดรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กใหม่ โดยใช้หลักการเขียนข้อมูลที่เป็น 1 และตามด้วย 0 ไปลงในทุกๆ Sector ข้อมูล ส่งผลให้ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ว่างเปล่า หรือพูดง่ายๆ ก็คือถูกเขียนทับด้วยข้อมูลเปล่าทั้งหมดนั้นเอง



3.กู้พาร์ทิชันที่เสียหาย
หากวันไหนเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วบูตไม่ขึ้น รวมถึงยังไม่สามาถเข้าไปเอาข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ออกมาได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเป็นไปได้ทั้งจากฮาร์ดแวร์ หรืออาจจะเป็นจากซอฟต์แวร์ซึ่งก็คือเป็นเพียงแค่โครงสร้างข้อมูลของไดรฟ์ หรือพาร์ทิชันเสียหาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ไม่ยากเสียด้วย อันนี้เจอบ่อยเวลาใครเอาเครื่องมาให้ซ่อมสาเหตุส่วนมากจะเกิดจากการเครื่อง ดับไม่ได้ shutdown เวลาเข้าิวินโดวส์จะเข้าวนอยู่เรือย ๆ แล้วลองเข้าไปดู partition จะบอกว่า unknow มีทางแก้ครับ


ส่วนใหญ่ปัญหาที่เป็นสาเหตุทำให้พาร์ทิชันสำหรับเก็บข้อมูลของคุณเกิดปัญหา ขึ้นก็คือ การเกิดความเสียหายขึ้นกับระบบไฟล์ ซึ่งเจ้าระบบไฟล์นี้จะเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ชี้ไปยังตำแหน่งของข้อมูลจริงๆ ที่อยู่บนไดรฟ์ คงพอนึกออกใช่ไหมครับว่าถ้าเกิดความเสียหายที่ตัวข้อมูล มันก็อาจจะทำให้ข้อมูลหายเท่านั้น แต่ถ้ามันเกิดความเสียหายที่ระบบไฟล์ ข้อมูลทั้งหมดภายในไดรฟ์ก็จะได้รับผลกระทบไปหมดเลย


เครื่องมือที่จะมาช่วยคุณในการแก้ไขปัญหานี้ก็จะเป็นซอฟต์แวร์ประเภทที่ใช้ ในการจัดการกับพาร์ทิชันอย่างเช่น Partition Magic ซึ่งนอกจากความสามารถในการสร้าง ลบ ย่อ ขยาย ขนาดของพาร์ทิชันแล้ว มันก็ยังสามารถจะซ่อมแซมโครงสร้างของพาร์ทิชันหรือระบบไฟล์ให้กับคุณได้อีก ด้วย

โปรแกรม Partition Magic โปรแกรมโปรคู่มือนักกู้ข้อมูล

โปรแกรม Active partition recovery เครื่องมือดีๆ ที่ใช้กู้พาร์ทิชันทั้งอันได้

นอกจากนี้ยังมีกรณีของการลบพาร์ทิชันผิด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุที่ว่าแบ่งพาร์ทิชันไว้จำนวนมากแล้วเกิดความสับสนเอง หรืออาจจะเป็นเพราะชื่อไดรฟ์มันเปลี่ยนไปในแต่ละระบบปฏิบัติการ ก็ส่งผลให้ข้อมูลในนั้นหายไปหมดด้วยเช่นกัน ซึ่งในรูปแบบเช่นนี้ก็มีโปรแกรมที่สามารถกู้คืนพาร์ทิชันที่ถูกลบไปได้อยู่ เหมือนกัน เช่น Active Partition Recovery ซึ่งมันจะสแกนดูว่าเราเคยมีการสร้างพาร์ทิชันอะไรไว้ จากนั้นมันก็จะกู้คืนสถานะของพาร์ทิชัน ระบบไฟล์ และไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เคยอยู่ในพาร์ทิชันให้กลับคืนมาเหมือนเดิม



4.กู้ฮาร์ดดิสก์ที่เป็น Bad Sector
เมื่อพูดถึง Bad Sector แล้ว นี่เป็นสิ่งที่ผู้ใช้หลายๆ คน เกลียดมันที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะมันกำลังจะทำให้ข้อมูลของคุณเสียหายได้ในไม่ช้า อย่างที่เราได้พูดถึงการทำงานของฮาร์ดดิสก์กันมาข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าฮาร์ดดิสก์เป็นส่วนประกอบที่มีความบอบบางมากทีเดียว โดยเฉพาะส่วนของจานแม่เหล็กและหัวอ่าน ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงแค่นิดเดียว เรียกได้ว่าเส้นผมคนเรายังลอดผ่านไม่ได้กันเลยทีเดียว ดังนั้นหัวอ่านก็อาจจะมีกระทบกับจานแม่เหล็กอยู่เหมือนกันในกรณีที่เกิดแรง สั่นสะเทือนมากๆ หรือฮาร์ดดิสก์ถูกแรงกระแทก นอกจากนี้การที่สารฉาบเคลือบผิวของจานแม่เหล็กนั้นเสื่อมสภาพ หรือสนามแม่เหล็กในบริเวณนั้นๆ ไม่สามารถบันทึกข้อมูล สิ่งเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิด Bad Sector ขึ้นมาได้

ตามปกติเมื่อข้อมูลของเราโชคร้าย ไปอยู่ในส่วนที่เป็น Bad Sector พอดิบพอดี ก็จะทำให้ข้อมูลส่วนนั้นๆ ไม่สามารถอ่านได้เลย เนื่องจากฮาร์ดดิสก์จะพยายามเข้าไปอ่านส่วนที่เป็น Bad Sector นั้น ดังนั้นสิ่งที่พอจะสามารถทำได้ในการกู้ข้อมูลกลับคืนมาก็คือการใช้โปรแกรม ช่วยอย่างเช่นโปรแกรมสำหรับการสแกนดิสก์ ที่สามารถรองรับการทำ Surface Test ด้วย เพื่อที่มันจะได้มองหาโปรแกรม Bad Sector ได้ และโปรแกรมเหล่านี้ก็ยังสามารถที่จะกู้ข้อมูลที่อยู่ที่ Bad Sector ขึ้นมาได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดวงด้วยเหมือนกันว่าไฟล์ที่กู้ขึ้นมานั้นเป็นไฟล์อะไร และจะต้องยอมรับด้วยไฟล์ที่กู้คืนมาได้คงจะไม่ได้มีความสมบูรณ์ 100% นะครับ พร้อมกันนี้โปรแกรมที่ว่านี้ยังช่วยมาร์กจุดของ Bad Sector เพื่อไม่ให้คอมพิวเตอร์มีการเขียนข้อมูลลงไปที่ Bad Sector อีก

โปรแกรมสำหรับทำ Low level Format มีหลายตัว แต่ที่เหมาะคือ ?ของผู้ผลิตเอง?

แม้ว่าเราจะสามารถกู้คืนข้อมูลที่อยู่ใน Bad Sector ขึ้นมาได้แล้ว และได้มาร์กจุดของ Bad Sector เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีข้อมูลผู้โชคร้ายถูกเขียนลงไปอีก แต่ความน่ากลัวของมันก็ยังไม่หมด เนื่องจาก Bad Sector อาจจะมีอาการลุกลามเพิ่มขึ้นได้อีกจากจุดเดิม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เราจึงควรจะต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุดูเสียก่อน โดยสิ่งที่เราพอที่จะสามารถแก้ไขปัญหา Bad Sector ได้ด้วยตัวเองก็คือการทำ Low Level Format ครับ โดยการทำ Low Level Format นี้สามารถทำได้ผ่านทางซอฟต์แวร์พิเศษจากทางผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ที่คุณใช้ งานอยู่ โดยสามารถไปหาดาวน์โหลดได้ตามเว็บไซต์แต่ละยี่ห้อได้เลยครับ



5.กู้ฮาร์ดดิสก์แบบ USB


เดี๋ยวนี้สื่อบันทึกข้อมูลแบบที่เรียกว่า External Harddisk กำลังเป็นที่นิยมมากเลยนะครับ เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มากมายมหาศาลต่อวันที่ผู้คนต้องพกพากันในวันนี้ไม่ ใช่มีแค่เพลง MP3 ขนาดแค่กิกะไบต์กันแล้ว แต่อาจจะมีไฟล์วิดีโอหรือข้อมูลอื่นๆ ในระดับหลายๆ กิกะไบต์เลยก็ได้ ดังนั้นสื่อบันทึกข้อมูลอย่าง Flash Drive อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานของผู้ใช้บางคน ดังนั้น External Harddisk แบบ USB จึงเข้ามาเติมเต็มความต้องการให้ แต่ถ้าเกิดข้อมูลสูญหายขึ้นมาจะทำอย่างไรได้บ้าง

จริงๆ แล้วฮาร์ดดิสก์แบบ External ที่เรารู้จักกันมันก็เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ที่ใส่อยู่ในเครื่องนั่นแหละครับ โดยถ้าเป็นแบบพกพาที่ไม่ต้องใช้ไฟจากอะแดปเตอร์ก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้วเหมือนกับของโน้ตบุ๊ก ดังนั้นเมื่อคุณเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์เหล่านี้เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว มันก็จะมองเหมือนเป็นเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ธรรมดาตัวหนึ่งเลย
การกู้ข้อมูลของ External Harddisk นั้นไม่ได้มีความแตกต่างไปจากการกู้ข้อมูลภายในเครือซักเท่าไหร่ แต่อาจจะแบ่งกรณีความเสียหายได้ 2 กรณีคือ 1 เสียที่ตัวฮาร์ดดิสก์เอง ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับที่กล่าวมาข้างต้นว่าคุณสามารถกู้ข้อมูลคืนได้ตั้งแต่การสแกนหาข้อมูลที่ ถูกลบไปจนไปถึงการแก้ไข Bad Sector ที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ กับอีกส่วนหนึ่งก็คือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวกล่องที่ใส่ฮาร์ดดิสก์

ซึ่งกล่องตัวนี้มีความสำคัญคือช่วยแปลงการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ทีเป็น IDE หรือ SATA มาเป็นแบบ USB หรือ Firewire นั่นเอง ดังนั้นถ้ามันเกิดเสียหายขึ้นมาก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถใช้งานได้



6.ฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กเสีย จะกู้ได้อย่างไร
ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของเครื่องพีซีเสีย การแก้ไขก็คงจะไม่ลำบากมากนั้น เพราะคุณสามารถเปิดเครื่องออกมาเอาฮาร์ดดิสก์ไปปลั๊กกับเครื่องอื่นเพื่อกู้ ข้อมูลได้ ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์โน้ตบู๊กนั้นจะมีความยุ่งยากมากกว่า เพราะนอกจากคุณจะแกะฮาร์ดดิสก์ออกมาได้อย่างยากลำบากแล้ว ฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กยังไม่เหมือนกับฮาร์ดดิสก์บนเครื่องพีซีอีกด้วย นอกจากมีขนาดที่เล็กกว่าแล้ว ยังมีพอร์ตสำหรับต่อสายที่ไม่เหมือนกันด้วย (ยกเว้นฮาร์ดดิสก์แบบ SATA ที่เหมือนกันและสามารถใช้งานร่วมกันได้) ดังนั้นคุณจึงต้องหาสายสำหรับแปลงสัญญาณจากฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กมาเป็น IDE สำหรับเครื่องพีซี หรืออาจจะแปลงไปเป็น USB เลยก็ได้เช่นเดียวกัน

 



ฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กกับเดสก์ท็อป มีความแตกต่างกันทั้งขนาดและพอร์ตการเชื่อมต่อ

สายแปลงฮาร์ดดิสก์ IDE เป็น USB ซึ่งสามารถใช้ได้ฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5? และ 3.5?

แม้ว่าหัว IDE ของฮาร์ดิสก์โน้ตบุ๊กจะคล้ายกับเดสก์ทอป แต่ว่าก็ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เพราะหัวมีขนาดเล็กว่า

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มี External Harddisk อยู่แล้ว และเป็นแบบกล่องที่สามารถแกะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ภายในได้ ก็คือการถอดฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กออกมาแล้วเอาฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กที่เสียใส่ กลับเข้าไปแทน ด้วยวิธีการนี้ก็จะเป็นเหมือนกับการกู้ข้อมูลจาก External Harddisk อย่างที่เราได้เคยพูดไปในหัวข้อก่อนหน้ายังไงล่ะครับ



7.จะกู้อย่างไรในเมื่อฮาร์ดดิสก์ Detect ไม่เจอ


ข้อผ่านๆ มาทั้งหลาย เป็นการกู้ข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์เป็นหลัก หรือไม่ก็มีการเปลี่ยนแปลงอินเทอร์เฟซด้วยอะแดปเตอร์เล็กน้อยซึ่งหมายความ ว่าสภาพฮาร์ดดิสก์ยังทำงานได้ดีอยู่ แต่สำหรับหัวข้อสุดท้ายนี้ เราจะพูดถึงกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถ Detect ได้เลย หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือคอมพิวเตอร์มองไม่เห็นว่ามีฮาร์ดดิสก์ต่ออยู่ กับเครื่องคอมพิวเตอร์เลย แบบนี้ก็แย่นะซิครับ เพราะโปรแกรมอะไรก็คงไม่สามารถจะกู้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์กลับมาได้เลย

สาเหตุของการที่ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถ Detect ได้นั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ล้วนเกิดจากแผงวงจรควบคุมที่อยู่กับตัวฮาร์ดดิสก์นั้นแหละ ครับ เพราะมันรับผิดชอบในการติดต่อและรับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าแผงวงจรเสีย ก็แปลว่าคุณก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในจานแม่เหล็กได้อีกเลย ทางเดียวที่สามารถแก้ไขได้ก็คือทำให้แผงวงจรกลับมาทำงานได้ดังเดิม ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ซึ่งก็ไม่ได้หายไปไหน ก็จะกลับมาสู่อ้อมอกคุณอีกครั้ง

 



เข้าชม : 638

Share


ทิป-เทคนิค 5 อันดับล่าสุด

      เช็ก10สัญญาณเตือน เสี่ยงเป็นโพสต์ที่ไม่มีใครอยากอ่าน!
      เคล็ดลับและไม่ลับที่ดีใน Windows 7
      การแก้ไข FakeSysdef มัลแวร์ตัวแสบ
      แตก และ Copy File ที่มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB ไม่ได้ทำยังไงดี
      9 วิธีเลือก Power Bank ให้สุด!


Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
เช็ก10สัญญาณเตือน เสี่ยงเป็นโพสต์ที่ไม่มีใครอยากอ่าน!
เมื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กกลายเป็นพื้นที่ที่มากกว่าการสื่อสาร แต่ยังรวมถึงการแสดงความคิดเห็น การเสียดสี ด่าทอ หรือแม้แต่การเล่นตลกจนเกินงาม ลองตรวจสอบกันซักหน่อย กับ 10 โพสต์ที่ไม่ควรโพสต์…
เคล็ดลับและไม่ลับที่ดีใน Windows 7
ตอนนี้ทุกท่านคงคุ้นเคยและใช้งานกันอย่างคล่องแคล่วแล้ว สำหรับ windows 7 วันนี้ผมมีเคล็ดลับและเทคนิคที่ทำให้ Windows 7 เจ๋งขึ้นมาฝากกัน
การแก้ไข FakeSysdef มัลแวร์ตัวแสบ
Win32 : FakeSysdef - D [Trj] Trojan เป็นโปรแกรมป้องกันสปายแวร์ปลอม ที่อันตรายมากเนื่องจากมันจะเปิดช่องโหว่ให้เหล่าแฮ็คเกอร์ และ แฮ็คกี้ (อันหลังนี่ตั้งเอาเอง) ทั้งหลายได้เข้าสู่ระบบของเราได้ง่ายขึ้น อยากรู้มากกว่านี้กลับไปอ่านบทความที่ลิงค์ต่อไปนี้ที่ผมเค
แตก และ Copy File ที่มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB ไม่ได้ทำยังไงดี
จากหัวข้อนี้เราจะเผยถึงปัญหาที่หลาย ๆ ท่านอาจทราบแล้วแต่สำหรับมือใหม่หรือมือปานกลางบางท่าน อาจจะยังไม่ทราบ ในกรณีที่เราทำการ copy ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 4GB ทำไม่มันถึงก๊อบไม่ได้สักที หรือ แตกไฟล์ zip ที่มีขนาดใหญ่ก็ทำไม่ได้
9 วิธีเลือก Power Bank ให้สุด!
แบตฯ สำรองหรือ Power Bank คืออุปกรณ์ที่ไว้จ่ายไฟให้กับ อุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่รองรับ ผ่านทางพอร์ต USB เพื่อความสะดวก Power Bank จะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ จากนั้นเมื่อใช้งาน มันจะจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คุณนำ
 
 
 
 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2557 PSN Computer Solution Co., Ltd. Tel: 02-713-7121-2 Fax: 02-713-7121 ติดต่อเว็บมาสเตอร์: webmaster@psncomputer.com